skip to main
|
skip to sidebar
2552-11-26
อำเภองาว
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ ลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยผืนป่าสงวนแห่งชาติ 9 แห่งในอำเภอต่างๆ จุดสูงสุดอยู่ที่ ดอยแม่ขวัญซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,253 เมตร พื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังเป็นทางน้ำไหลลงทางด้านตะวันตกไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ทางตอนเหนือของอำเภอสองจังหวัดแพร่ อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีบันได 283 ขั้นก่อนเข้าถ้ำ มีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ26 องศาเซลเซียสอากาศเย็นที่สุดอยู่ในเดือนมกราคมฝน จะตกหนักในเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า 50 ชนิด เช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดิน เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอุทยานฯ ถ้ำผาไท สันนิษฐานว่าถูกค้นพบโดยพรานป่าล่าสัตว์ หรือจากการสำรวจเส้นทางหลวงแผ่นดิน ภายในถ้ำ เป็นโถงขนาดใหญ่ที่เกิดจากภูเขาหินปูน อายุไม่น้อยกว่าเก้าล้านปียาวลึกจากปากถ้ำ เข้าไป ประมาณ 1,150 เมตร ตลอดเส้นทางอุทยานฯ ได้ติดตั้งไฟให้สว่างเพื่อสะดวกสำหรับเดินชม หินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายในถ้ำ และมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ภายในถ้ำ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2469 ดังปรากฏหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อปปร.ภายในถ้ำค้างคาวจำนวนมากได้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมีถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีประวัติเก่าแก่สามารถเดินถึงได้จากถ้ำผาไท
ถ้ำโจร
เป็นถ้ำขนาดเล็กมี 3 ห้อง งดงามด้วยม่านหินย้อยในแต่ละโถงถ้ำเล่ากันว่าอดีตเคยเป็นที่อาศัยของโจรมาก่อน ภาพเขียน ประวัติศาสตร์บ้านห้วยหก เป็นภาพเขียนสีแดงของกลุ่มคนเดินเรียงแถว มีอายุประมาณ 2,000 - 3,000 ปี เป็นยุคสังคมเร่ร่อน และลักษณะของภาพเขียนดังกล่าวไม่ค่อยได้พบเห็นมากนักในประเทศไทย สามารถเดินเท้าจากหมู่บ้านห้วยหก ระยะทางประมาณ3.5 กิโลเมตร น้ำตกแม่เก้ อยู่ห่างจากบ้านแม่เก้ อำเภองาว ประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่เกิดจากลำห้วยแม่เก้ถาโถม จากผาหิน เกิดเป็นชั้นน้ำตกที่งดงามท่ามกลางไม้ใหญ่ร่มรื่น
ภาพเขียนสีโบราณประตูผา
ระยะทาง 48 กิโลเมตร จากลำปาง บนถนนไฮเวย์ลำปาง-เชียงราย เป็นที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาและ หน้าผาสูงชัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ประตูผา" เส้นทางสัญจร แต่โบราณไปมาสู่ล้านนาตะวันออก และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งในสงครามยุคโบราณกับพม่า และในสงครามโลก บนหน้าผาและบริเวณใกล้เคียงมีการค้นพบ ภาพเขียนสีและแหล่ง ฝังศพของคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ขณะนี้ทางภาครัฐ ท้องถิ่นและเอกชน ในจังหวัด กำลังร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและศึกษาด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เกี่ยวกับฉัน
Yimmine
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
คลังบทความของบล็อก
▼
2009
(10)
▼
พฤศจิกายน
(10)
อำเภอเมืองปาน
จังหวัดลำปาง
อำเภอแม่เมาะ
อำเภอเสริมงาม
อำเภอแจ้ห่ม
อำเภอสบปราบ
อำเภอวังเหนือ
อำเภอเกาะคา
อำเภองาว
อำเภอเถิน
ผู้ติดตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น